วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา





            สวัสดีค่ะ ทุกๆคน กลับมาพบกันเช่นเคยกับสาระดีๆนะคะ วันนี้มีแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจมาแนะนำให้กับเพื่อนๆค่ะ นั่นก็คือ “พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา” ซึ่งแหล่งการเรียนรู้แห่งนี้ได้รวบรวมความรู้ทางด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี เพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้ประชาชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรณี อันจะนำมาสู่การช่วยกันอนุรักษ์ต่อไป ยิ่งถ้าเพื่อนๆคนใดชอบวิชาธรณีเป็นพิเศษล่ะก็รับรองต้องไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ
            สำหรับการเดินทางไป“พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา” มีหลายเส้นทางโดยการเดินทางโดยรถประจำทาง สามารถไปสาย 8,44,67,92,97,ปอ.44,ปอ.157,ปอ.509,ปอ.538 ส่วนสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุด คือ สถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพญาไท โดยพิพิธภัณฑ์ธรณีนี้จะตั้งอยู่ที่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 75/10 ถ.พระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 
                     วิวัฒนาการแผ่นเปลือกโลกแต่ละยุคสมัยส่วนแสดงแร่ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาผลิตภัณฑ์จากแร่ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
                                             โซนที่ 2                                                     โซนที่ 3                                                         โซนที่ 4
ส่วนแสดงแร่ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาส่วนแสดงฟอสซิล พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาส่วนแสดงแร่ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาเครื่องจำลองการเกิดสึนามิ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
                           โซนที่ 5                                       โซนที่ 6                                            โซนที่ 7                                                      โซนที่ 8
            โดยภายในพิพิทธภัณฑ์แห่งนี้จะแบ่งเป็น 8 โซนใหญ่ๆ ได้แก่
  • โซนที่ 1 เป็นมุมประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะบอกเล่าความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
  • โซนที่ 2 เป็นโซนธรณีประวัติ ซึ่งผู้เยี่ยมชมจะสามารถศึกษาความรู้เรื่องการกำเนิดโลก รวมทั้งการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกด้วย
  • โซนที่ 3 เป็นโซนทรัพยากรแร่ ผู้เยี่ยมชมจะได้รู้จักกับแร่หลากหลายชนิด ที่มีคุณสมบัติต่างๆกันอีกทั้งยังมีอุโมงค์จำลองการขุดเจาะแร่ให้ได้ชมกันอีกด้วย
  • โซนที่ 4 เป็นโซนหินและน้ำบาดาล ผู้เยี่ยมชมจะได้รู้จักกับวัฏจักรของหิน และของน้ำที่จำลองเป็นแผนผังที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
  • โซนที่ 5 เป็นโซนเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ผู้เยี่ยมชมจะได้รู้จักกับถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม และกระบวนการผลิตมากมาย
  • โซนที่ 6 เป็นโซนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ผู้เยี่ยมชมจะได้ศึกษาและได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตารางอายุทางธรณีวิทยา และข้อมูลการค้นพบซากดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย
  • โซนที่ 7 เป็นโซนธรณีวิทยาประเทศไทย ผู้เยี่ยมชมจะได้ทำความเข้าใจแผนที่ทางธรณีวิทยาของประเทศไทย พร้อมข้อมูลแหล่งศึกษาทางธรณีวิทยาของประเทศไทย
  • โซนที่  8 เป็นโซนธรณีวิทยาประยุกต์ ผู้เยี่ยมชมจะได้เข้าใจว่าการศึกษาทางธรณีวิทยาต่างๆนั้นสามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร อีกทั้งยังมีเกร็ดความรู้เรื่องภัยพิบัติต่างๆมาให้ศึกษาอีกด้วย

            เป็นยังไงบ้างคะ น่าสนใจใช่ไหมล่ะ ซึ่งถ้ามีโอกาสล่ะก็อยากให้เพื่อนๆไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ดู  เพราะจะได้เต็มอิ่มกับความรู้ทางธรณีวิทยาตั้งแต่ยุคกำเนิดโลก จนถึงเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการขุดเจาะทำเหมืองแร่หรือเทคโนโลยีการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆมากมายอีกทั้งยังสอดแทรกความรู้ในเรื่องของการอนุรักษ์ให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกไปในตัวด้วยค่ะ
            นอกจากนี้สถานที่แห่งนี้ยังสามารถนำไปจัดการเรียนรู้บูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ วิชาธรณีวิทยา (หิน ดิน แร่ สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์) วิชาโลกศาสตร์ (กำเนิดโลก)  วิชาสิ่งแวดล้อม (ภัยพิบัติ พลังงาน)  วิชาชีววิทยา (วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะฉะนั้นถ้าคุณครู อนาคตคุณครูอ่านอยู่ล่ะก็ อย่าลืมพานักเรียนไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนะคะ
            ตัวของข้าพเจ้าเอง ได้เคยไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยามาแล้วครั้งหนึ่งรู้สึกประทับใจมากเพราะตัวเองชอบในวิชาธรณีวิทยา และทำให้มีความเข้าใจในวิชานี้มากยิ่งขึ้น จึงอยากบอกต่อสำหรับผู้ที่สนใจลองมาค้นคว้าความรู้วิทยาศาสตร์ที่นี่ดูนะคะ รับบรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ